เมนู

ผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว กายของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มนัสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมนัส แต่พระองค์
ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้
พึงทราบโดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ
ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
จบ โกฏฐิกสูตรที่ 5

อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ 5


ในโกฏฐิกสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตทุภยํ ตัดเป็น ตํ อุภยํ แปลว่า สูตรทั้ง 2 นั้น.
จบ อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ 5